http://www.youtube.com/watch?v=x6r5WxFlBlY
“Rudingan Damai” BRN
“ขอความสันติจงมีแด่ท่านข้าพเจ้าฮัจญี อาดัม มูฮัมหมัดนูร ในฐานะตัวแทนขององค์กรแนวรวมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปาตานี บีอาร์เอ็น
ในการเจรจาสันติภาพกับรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมานั้น
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นที่ปาตานี ณ ปัจจุบันนี้ก็คือ การลุกขึ้นมาของประชาชน ภายหลังจากที่ประชาชนต้องตกอยู่ภายใต้การกดขี่และข่มเหงมานานนับร้อยปี
การเข่นฆ่ากันได้เกิดขึ้นอยู่ทั่วทุกระหัวระแหง โดยไร้ซึ่งผู้คอยให้ความดูแล มีจำนวนไม่น้อยที่ชาวมลายูปาตานีถูกประทุษร้ายถึงชีวิตโดยที่ไม่มีแม้ กระทั่งหลุมฝั่งศพ
ในด้านการศึกษา นักล่าอาณานิคมสยามได้ทำการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาแบบมลายูไปเป็นระบบแบบ สยาม ซึ่งหนุ่มสาวมลายูจำนวนมิน้อยที่ต้องสูญเสียอัตลักษณ์แห่งตัวตนไป
ในด้านเศรษฐกิจ แผ่นดินนั้นอุดมสมบูรณ์ แต่ประชาชนอยู่ในภาวะยากจน จนทำให้หนุ่มสาวปาตานีนับแสนจำเป็นต้องเร่ร่อนออกตามหาปัจจัยยังชีพสู่ ประเทศมาเลเซียและที่อื่นๆ
ด้วยเหตุนี้ ขบวนการปลดปล่อยปาตานี(บีอาร์เอ็น)จากการยึดครองของสยามก็ได้กำเนิดขึ้น เพราะฉะนั้นเราพร้อมเสียสละเลือดเนื้อและทรัพย์สิน ในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเพื่อได้รับอิสรภาพของปาตานีจากการยึด ครองของสยาม
ดังนั้น เพื่อให้การเจรจาสันติภาพดำเนินการได้อย่างราบรื่น เราขอเสนอข้อเรียกร้องเบื้องต้น 5 ข้อ
1.การเจรจาในครั้งนี้ ถือเป็นการเจรจาระหว่างนักต่อสู้ปาตานี ที่นำโดยบีอาร์เอ็นกับรัฐบาลไทย เนื่องจาก
a. บีอาร์เอ็น เป็นองค์กรปลดปล่อย ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวมลายูปาตานี
b. บีอาร์เอ็นคือผู้ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของชาวปาตานี
c. บีอาร์เอ็นคือผู้ทำหน้าที่และนำพันธกิจของชาวมลายูปาตานี
2.บีอาร์เอ็นเห็นพ้องต้องกันที่จะให้มาเลเซียเป็นคนกลาง (mediatur) ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงในการเจรจาครั้งนี้
a. เพื่อให้การเจรจาครั้งนี้สามารถดำเนินไปได้ด้วยดีและบรรลุตามเป้าหมาย
b. เพื่อให้การเจรจาครั้งนี้ได้รับการยอมรับและความไว้วางใจจากสังคมมลายูปาตานีและประชาคมโลก
c. เพื่อให้มีผู้ไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่แผ่นดินปาตานี
a. ในการตกลงระหว่างบีอาร์เอ็นกับรัฐไทย จะต้องมีสักขีพยานจากสังคมระหว่างประเทศ และตัวแทนองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่ทำงานในด้านสิทธิมนุษยชนที่ต้องการเห็นสันติภาพและความมั่นคง
b. เพื่อให้การเจรจาในครั้งนี้มีหลักประกันที่แน่นอนสำหรับทั้งสองฝ่าย
4. รัฐบาลไทยต้องยอมรับว่าชาวมลายูปาตานีย่อมมีสิทธิความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนปาตานีแห่งนี้ เพราะว่า
a. รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งที่ดินแดนปาตานีแห่งนี้ คือการที่สิทธิความเป็นเจ้าของของชาวมลายูปาตานีถูกปล้นไป
b. ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง
c. ปัญหาด้านสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม วัฒนธรรม และอื่น
5. ฝ่ายบีอาร์เอ็นขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำการปล่อยตัวผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ ต่อสู้เพื่อปลดปล่อยปาตานีทั้งหมด และให้ยกเลิกหมายจับทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข
วิกฤติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่ปาตานี เพราะมีระบบการปกครองแบบอาณานิคมสยามบนแผ่นดินปาตานี หากว่าไม่มีนักล่าอาณานิคมก็คงจะไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น
ผิดด้วยหรือที่ชาวมลายูปาตานีลุกขึ้นมาปกป้องจากการคุกคามของสยาม
ขอบคุณครับ
........................
รวบรวมลิงค์ แถลงการณ์ BRN ทั้งสองครั้ง
ลิงค์คลิปแรก ที่เผยแพร่ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2556 โดย Abdulloh Muhammad
http://www.youtube.com/watch?v=3XzxHyvRu1U
บทแปลเนื้อหาคลิปเป็นภาษาไทย โดย นายฮาร่า ชินทาโร่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น